เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๑๔ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘                                                                                    เวลาเรียน ๕ คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้ : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     นิทานนานาชาติ  (คาดเดาเรื่องก่อนการเรียนรู้)

สาระสำคัญ :                         การคาดเดาเรื่องราวในนิทาน นิทานนานาชาติ

Big Question :                           นักเรียนคิดว่าเรื่องราวของนิทานนานาชาติจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น




เป้าหมายย่อย :                      นักเรียนสามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล บอกเล่า อธิบายให้คนอื่นฟังได้ อ่านคำและเรื่องราวได้ จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ มีนิสัยรักการอ่าน สามารถอ่านและเขียนคาดเดาเรื่องจากชื่อเรื่อง มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome




พฤหัสบดี





โจทย์
 ทบทวนสิ่งที่รู้แล้ว ทบทวนหลักภาษาที่ผ่านมา

คำถาม :
- ภาระงานที่มอบหมายในช่วงปิดเรียน เป็นอย่างไรบ้าง?
-    นักเรียนคิดว่าเนื้อหาของนิทานโลกจินตนาการจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สิ่งที่สนทนาแสดงความคิดเห็น
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่รู้แล้ว
- Show and Share ผลงานคาดเดาเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพความคิด
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
หนังสือนิทานนานาชาติ
ขั้นนำ
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันปิดภาคเรียนที่ผ่านมานักเรียนมีเรื่องราวใดมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟังบ้าง
- ครูเล่านิทานให้นักเรียนฟัง นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง

ขั้นสอน
ชง:
ครูเล่านิทานให้นักเรียนฟัง แล้วกระตุ้นการคิดผ่านคำถาม “ถ้านักเรียนจะเรียนรู้ผ่านวรรณกรรมอย่างไรและบอกอะไรเราได้บ้าง”
เชื่อม:
ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ๑แผ่น นักเรียนแต่ละคนเขียนการเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม และสิ่งที่จะได้จากการอ่านวรรณกรรม
ใช้:
นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับนิทานนานาชาติมีเนื้อหาหรือเรื่องราวอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น

ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๔-๕ คน
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นกิจกรรมที่ทำในช่วงปิดเรียน
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนคาดเดาเรื่อง “นิทานนานาชาติ”
ความรู้
คาดเดาคาดคะเนเหตุการณ์ได้ รวมทั้งบอกเล่าอธิบายเรื่องราวให้คนอื่นฟังได้

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานคาดเดาเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
-   เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-   เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome




ศุกร์




โจทย์
ทบทวนความรู้ หลักภาษา

คำถาม :
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน
Quarter ที่ผ่านมาและนำไปใช้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความรู้ที่ผ่านมา
- Black board Share ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่รู้แล้ว
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- Show and Share นำเสนอ ชิ้นงาน
Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานคาดเดาเรื่องนิทานนานาชาติ ๔-๕ คน

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-    “ภาษาไทยมีความสำคัญกับอย่างไรบ้าง”
-    “นักเรียนได้นำความรู้ภาษาไทยปรับใช้ในชีวิตอย่างไรบ้าง”
-    ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter  ที่ผ่านมา” นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ (นิทานและหลักภาษา) เพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้

ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๔-๕ คน
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชาภาษาไทยที่ผ่านมา

ชิ้นงาน
Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
ความรู้
นักเรียนสามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล บอกเล่า อธิบายให้คนอื่นฟังได้ อ่านคำและเรื่องราวได้ จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ มีนิสัยรักการอ่าน สามารถอ่านและเขียนคาดเดาเรื่องจากชื่อเรื่อง มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำ หรือประโยคได้อย่างเหมาะสม
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ฟัง และการจัดการข้อมูลที่ได้จากการฟังนำมาเขียนสรุปตามความเข้าใจได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ และกระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามอดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังกล้าแสดงความคิดเห็น



กิจกรรม 






  ชิ้นงาน













1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะใน Quarter 1 พี่ป.๓ เปิดเทอมมาด้วยความสดใส เพื่อนๆทุกคนต่างมีเรื่องพูดคุยกันมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่ได้ทำกับครอบครัวในช่วงปิดเทอม วันแรกคุณครูจึงให้นักเรียนเขียนความประทับใจในช่วงปิดเทอมที่อยากเล่าให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง วันศุกร์ครูเล่านิทานให้พี่ๆ รูเล่านิทานให้พี่ๆ ฟังและนำหนังสือที่พี่ๆ จะได้อ่านใน Quarter นี้ให้พี่ๆ คาดเดาเรื่องนิทานนานาชาติ โดยคุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นิทานนานาชาติน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรบ้าง” พี่ๆ ช่วยกันคิด บางบอกว่าเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติ บางคนบอกว่า เรื่องเกี่ยวกับชาตินี้ ชาติหน้า บางคนบอกว่าน่าจะเกี่ยวกับคนต่างชาติ จากนั้นครูให้นักเรียนลองคาดเดาเนื้อหาในหนั้งสือตามความคิดของตนเอง ซึ่งสัปดาห์แรกนี้พี่ๆ ยังไม่ได้เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

    ตอบลบ