เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week10

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่  ๑๐  วันที่  ๑๓ – ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘                                                                                    เวลาเรียน ๕ คาบ  (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     ตัวโชค

สาระสำคัญ :                         การมีจิตเมตตาและจิตสาธารณะทำดีโดยไม่มีผู้ใดบอกและไม่หวังผลตอบแทนเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรมีสติพิจารณาว่าสิ่งที่เราทำดีนั้นจะเป็นภัยกับเราหรือไม่


Big Question :                           นักเรียนคิดว่าเราควรปฏิบัติตนอย่างไรให้สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น รวมทั้งอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข




เป้าหมายย่อย :                                นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยคำเป็น คำตายและสามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและเขียนสรุปย่อ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
ตัวโชค

คำถาม :
ตัวโชคมีจริงหรือไม่ อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอสรุปเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking  ชิ้นงานสรุปเรื่องย่อ
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรม และสรุปตอนที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง “ตัวโชค”
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนทำอะไรแล้วมีความสุขที่สุด
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านนิทาน “ตัวโชค” โดยอ่านออกเสียงหลายคน และอ่านคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งตอนจบใหม่
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

 
ชิ้นงาน
แต่งตอนจบใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น



Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 เขียนตามคำบอก

คำถาม:
นักเรียนจะนำคำศัพท์ที่ได้มาใช้ในการสื่อสารอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคความ
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยค
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ประโยค
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไรนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูอ่านคำสรรพนามในเนื้อเรื่องและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำสรรพนามนั้นว่าหมายถึงใครในเรื่อง รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติมอีกครั้ง
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์แต่งเป็นประโยค พร้อมวาดภาพ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องคำเป็น คำตาย
ภาระงาน
- แต่งประโยค
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งประโยคสร้างสรรค์
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเขียนแจกลูกคำ เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
 คำเป็น คำตาย

คำถาม :
คำเป็น คำตาย แตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคและคำคำเป็น คำตาย
- Wall Thinking ผลงานการแต่งเรื่องจากคำคำเป็น คำตาย
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเป็น คำตาย
บรรยากาศ/สื่อ :
-ห้องเรียน
-นิทาน  ตัวโชค
ขั้นนำ  
ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
ขั้นสอน
ชง :
 ครูเขียนตัวอย่างคำเป็น คำตาย บนกระดานให้นักเรียนดู  ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คำเหล่านี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ”นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ คำเป็น คำตาย หมายถึงอะไร พร้อมกับให้นักเรียนยกตัวอย่างประกอบจากนิทาน  ตัวโชค นักเรียนรู้จักคำใดบ้างที่เป็นคำเป็นและคำตาย ”
ใช้ :
นักเรียนนำตัวอย่างคำเป็น  คำตาย มาแต่งประโยคและวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป   
นักเรียน Show & Share นำเสนอข้อมูลที่แต่ละกลุ่มค้นคว้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ภาระงาน
-แต่งประโยคจากคำคำเป็น คำตาย
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแต่งประโยคจากคำเป็น คำตาย
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งประโยคคำเป็น คำตาย
ความรู้
คำเป็น คำตาย
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
คำเป็น คำตาย

คำถาม:
นักเรียนจะแต่งเรื่องจากคำเป็น คำตาย ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำเป็น คำตาย
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคและคำเป็น คำตาย
- Wall Thinking ผลงานการแต่งเรื่องจากคำเป็น คำตาย
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเป็น คำตาย
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมทบทวนเกี่ยวกับคำเป็น คำตาย
ขั้นสอน
ชง :
 ครูนำบทความ กลอน ข่าว ให้นักเรียนอ่าน
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ เรื่องราวทีนักเรียนอ่านมีคำใดบ้างที่เป็นคำเป็น คำตาย ”
เชื่อม :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คำเป็นคำตายมีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้ผ่านมาอย่างไรบ้าง
ใช้ :
นักเรียนนำคำเป็น คำตาย  มาแต่งเป็นนิทานกับวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละคน Show & Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ชิ้นงาน
นิทานคำเป็น คำตาย
ภาระงาน
-แต่งนิทานจากคำเป็น คำตาย
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำเป็น คำตาย
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- คำเป็น คำตาย
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  



Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome








ศุกร์
โจทย์
 สรุปองค์ความรู้

คำถาม:
นักเรียนจะนำคำเป็นคำตายไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ศึกษาค้นคว้าและการสรุปองค์ความรู้ (คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์)
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำเป็นและคำตาย
- Show and Share  สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องยืมไข่ จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์และข้อคิดที่ได้จากการอ่านนิทาน
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเรื่อง และการนำคำศัพท์ไปใช้ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ (คำเป็น คำตาย) และสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและคำเป็นคำตาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
Mind Mapping การเรียนรู้จากนิทานเรื่อง ขลุ่ยทอง คำเป็นและคำตาย
ความรู้
นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยคำเป็น คำตายและสามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและเขียนสรุปย่อ
มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำไปปรับใช้กับตนเอง
- สรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- นักสร้างสรรค์ นักออกแบบกิจกรรม











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ อ่านวรรณกรรม ตอน ตัวโชค เมื่ออ่านวรรณกรรมจบ ครูให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปเหตุการณ์ในเรื่องและสรุปแผนภาพโครงเรื่องในสมุด จากนั้นวันอังคารครูและพี่ๆ ทบทวนคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง และวิเคราะห์ตัวละครต่างๆ นิสัย และถ้าเปลี่ยนอยากเปลี่ยนให้ตัวละครนั้นเป็นอย่างไรบ้าง พี่ๆ บอกว่า สิงโต เพราะไม่อยากให้กินพี่ชาย เพราะพี่ชายมีความมุ่งมั่นในการจะไปทำนาของตนเอง
    วันพุธครูและพี่ๆ ทบทวนอักษรกลาง อักษรสูง จากนั้นครูเชื่อมมาที่อักษรต่ำ โดยพี่ๆ ช่วยกันตอบ หลังจากนั้น ครูเชื่อมมาถึงอักษรต่ำเดี่ยวและคู่ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร พี่ต้นกล้าบอกว่า อักษรต่ำคู่ ผันคู่กับอักษรสูงครับ ผมจำได้ ตอนเราผันอักษรสูง เพื่อนคนอื่นๆ เริ่มนึกได้บ้าง จากนั้นครูตั้งคำถามต่อ แล้วอักษรต่ำเดี่ยว ทำไมเรียน ต่ำเดี่ยว พี่ๆ บอกว่า ผันวรรณยุกต์ได้ โดยไม่ต้องมีคู่ ครูและพี่ๆ ช่วยกันเขียนพยัญชนะ และพี่ๆ ได้แต่งประโยคอักษรต่ำคู่และเดี่ยวเพื่อช่วยจำเป็นของตนเอง
    วันพฤหัสบดีพี่ๆ ได้ทบทวนอักษรต่ำและครูได้ เขียนคำบนกระดาน คา (อักษรต่ำคู่) และ นา (อักษรต่ำเดี่ยว) พี่ๆ ช่วยกันผันวรรณยุกต์
    พี่พี “คา ข่า ค่า ค้า ขา ครับ” ครูจึงให้ลองสะกด จากนั้นครูช่วยเสนอแนะ แล้ว ข้า ตัวนี้จะผันวรรณยุกต์ที่ไหน
    พี่น้ำตาล “ตรงกับข้าค่ะ” จากนั้นครูให้พี่ๆ ลองผันวรรณยุกต์อักษรต่ำเดี่ยว “นา” นา หน่า น่า(หน้า) น้า หนา หลังจากนั้นพี่ๆ เลือกคำที่ตนเองจะผันวรรณยุกต์ คนละ ๔ คำ โดยวันนี้ครูให้การบ้านพี่ๆ สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้อักษรต่ำเดี่ยวและคู่ เนื่องจากวันศุกร์พี่ๆ ไม่ได้เรียนภาษาไทยเพราะมีกิจกรรมดำนาในตอนเช้าค่ะ

    ตอบลบ