เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week3


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๒๕ – ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘                                                                                    เวลาเรียน ๕ คาบ (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     เจ้าหนูอยากโต

สาระสำคัญ :                         เราควรพอใจในสิ่งที่เราเป็น และสิ่งที่เรามี หมั่นพัฒนาตนเองโดยไม่เปรียบเทียบหรืออยากเป็นเหมือนคนอื่น

Big  Question :                          นักเรียนจะพัฒนาตนเองเองไร เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น



เป้าหมายย่อย :                                นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายชนิดของคำ (คำกริยา คำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำอุทาน

คำบุพบท คำสันทาน) และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
จันทร์
โจทย์
 เจ้าหนูอยากโต

คำถาม :
นักเรียนจะทำอย่างไรบ้าง เมื่อมีคนมาล้อหรือว่าเรา?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-   พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง เจ้าหนูอยากโต

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมในวันหยุดให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
   นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่อง พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปแผนภาพโครงเรื่อง พร้อมตกแต่งให้สวยงาม


ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อนๆ
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 เขียนตามคำบอก

คำถาม :
นำคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่านมาแต่งประโยค แต่งนิทานได้อย่างสร้างสรรค์
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งนิทานช่อง
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ประโยคความเดียว
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  นักเรียนเขียนคำศัพท์ใหม่จากเรื่องที่อ่าน (เขียนตามคำบอก)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำแต่ละคำมีความหมายอย่างไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวาดภาพประกอบคำศัพท์
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์และความหมายของคำ รวมทั้งการนำคำไปใช้
 - นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ ที่เขียนตามคำบอกไปแต่งเป็นประโยคอย่างสร้างสรรค์ ๕ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้พร้อมทั้งร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องคำเชื่อมประโยคเพิ่มเติม
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งเป็นประโยคสร้างสรรค์
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน และคำศัพท์พื้นฐาน ป.3 รวมทั้งความหมายและการนำไปใช้
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
คำบุพบท คำวิเศษณ์

คำถาม:
คำบุพบท คำวิเศษณ์มีความหมายอย่างไรในประโยคบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ประโยคจากคำวิเศษณ์และคำบุพบท
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำและประโยค
- Show and Share การแต่งประโยค
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบประโยค
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
-   ครูให้นักเรียนสังเกตประโยค เช่น “ฉันเห็นคนแก่เดินข้ามถนน” “ฉันให้ขนมแก่น้อง”
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำที่ขีดเส้นใต้มีความหมายอย่างไรในประโยค”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำในประโยค
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำไหนบ้างที่มีลักษณะคล้ายคำบนกระดานบ้าง”
ใช้:
นักเรียนค้นหาข้อมูล คำวิเศษณ์และคำบุพบท ยกตัวอย่างคำและประโยค
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอข้อมูลที่ค้นหาให้ครูและเพื่อนฟัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการแต่งประโยคและวาดภาพสื่อความหมาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
ความหมายคำวิเศษณ์และคำบุพบท
ความรู้
แยก
คำบุพบท คำวิเศษณ์ รวมทั้งการนำคำมาแต่งประโยค
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ - เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ฤหัสบดี
โจทย์
คำอุทาน

คำถาม :
คำอุทานจะใช้อย่างไร และเมื่อใดได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำอุทานที่นักเรียนเคยได้ยินหรือพูด
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับอารมณ์ของภาพ
- Show and Share การแต่งเรื่องจากเหตุการณ์ที่เคยพบเจอ
-  Wall Thinking ผลงานเหตุการณ์ที่มีคำอุทาน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-    บัตรภาพ
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายและทบทวนสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้เมื่อวาน
ขั้นสอน
ชง:
-   ครูนำภาพอารมณ์ของคนให้นักเรียนได้เล่าเรื่องต่อกัน
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากอารมณ์ของภาพทั้งหมดนักเรียนคิดอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใดเขาจึงมีอารมณ์เช่นนั้น”

เชื่อม:
-   ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการของคนตกใจ การแสดงท่าทาง หรือคำพูดใดบ้าง และการใช้คำอุทาน
ใช้:
นักเรียนเขียนจำลองเหตุการณ์ และคำอุทานที่เคยอ่านเจอ หรือเคยได้ยิน
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอชิ้นงานให้ครูและเพื่อนฟัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับคำอุทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เหตุการณ์และคำอุทานที่เคยอ่าน หรือเคยได้ยิน
ความรู้
คำศัพท์อุทานในเหตุการณ์ต่างๆ
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ศุกร์
โจทย์
 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ผู้อื่นเข้าใจ

คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของคำ และเรื่องที่เรียนรู้สัปดาห์นี้อย่างไรให้ผู้อื่นเข้าใจ

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนรู้
-Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ชนิดของคำและการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องเจ้าหนูอยากโต จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของคำ
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping

ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการชนิดของคำ
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำชนิดต่างๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายชนิดของคำ(คำกริยา คำนามคำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำอุทาน คำบุพบท คำสันทาน)และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน และแผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- สรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ



กิจกรรม




 ชิ้นงาน





















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนวิชาภาษาไทย คุณครูเริ่มด้วยคำถาม โตขึ้นพี่ๆ อยากทำงานหรืออยากเป็นอย่างไร หลายคนบอกเล่าความฝันที่โตขึ้นของตนเอง ตัวอย่างเช่น พี่แม็ค โตขึ้นผมอยากเป็นทหารเรือเหมือนพ่อ บ้างก็อยากเป็นครู เป็นตำรวจ จากนั้นครูให้พี่ๆ อ่านนิทาน “เจ้าหนูอยากโต” สัปดาห์นี้พี่ๆอ่านในใจ ซึ่งเมื่ออ่านจบครู ตั้งคำถามกับพี่ๆ ว่าในเนื้อเรื่องเป็นอย่างไรบ้าง และให้สรุปลงในสมุด
    วันอังคารพี่ๆ เขียนตามคำบอกซึ่ง คุณครูตกลงกับพี่ๆ ว่าจะเขียนด้วยตนเอง พี่ๆตั้งใจเขียนด้วยตนเองจากนั้นช่วยกัน สะกดคำที่ถูกต้อง และให้ความหมายของคำและการนำไปใช้ หลังจากนั้นนักเรียนนำคำศัพท์แต่งประโยคคนละ ๕-๑๐ คำ
    วันพุธครูเขียนประโยค สองประโยคให้นักเรียนได้สังเกต พร้อมตั้งคำถามสองประโยคมีคำใดบ้างที่เหมือนหรือต่างกันเพราะอะไร “ฉันเห็นคนแก่เดินข้ามถนน” “ฉันให้ขนมแก่น้อง” พี่ๆ บอกว่าคำว่า “แก่” มีเหมือนกัน แต่ให้คนละความหมาย ซึ่งคุณครูเห็นว่าพี่ๆ สามารถมองเห็น ครูจึงตั้งคำถามต่อว่าแล้ว คำนี้เป็นคำชนิดไหนทำไมถึงช้าต่างกัน พี่ได้ค้นหา ชนิดของคำ “บุพบทและคำวิเศษณ์” ท้ายชั่วโมงกลับมาพูดคุยกันถึงสิ่งที่ได้จากการค้นคว้ามา
    วันพฤหัสบดี วันนี้ไม่ได้เรียนตามแผนที่วางไว้เรื่องคำอุทาน เนื่องจากพี่ๆ บางคนยังไม่เข้าใจคำ “บุพบทและคำวิเศษณ์” ครูและพี่ๆที่เข้าใจแล้วจึงทบทวนความรู้การใช้คำ “บุพบทและคำวิเศษณ์” จากนั้นพี่ได้ทำสมุดชนิดของคำของตนเองเพื่อสรุปความเข้าใจของตนเอง
    วันศุกร์พี่ๆ ทำสมุดสรุปชนิดของคำต่อ โดยทบทวนไปถึงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับคำนาม คำสรรพนาม คำกริยาและคำเชื่อม

    ตอบลบ