เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week8

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๒๙ - ๓๐ มิถุนายน – ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘                                                                      เวลาเรียน ๕ คาบ (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     ไดโนเสาร์ขาโก่ง

สาระสำคัญ :                         สังคมเรามีความแตกต่างหลากหลาย ไม่มีสิ่งใดเหมือนกัน เราควรยอมรับในความแตกต่าง และดำรงชีวิตภายใต้ความแตกต่างนั้นอย่างมีความสุข

Big Question :                            นักเรียนจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้ความแตกต่างอย่างไร




       เป้าหมายย่อย :                      นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียง เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและจัดหมวดหมู่อักษรสามหมู่ ผันวรรณยุกต์อักษรกลาง มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด   นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องไดโนเสาร์ขาโก่ง

คำถาม :
นักเรียนจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้ความแตกต่างอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์
ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (สิ่งที่ได้จากการอ่านนิทาน)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและผลงานภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม ตอน“ไดโนเสาร์ขาโก่ง”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนากันเรื่องลักษณะของไดโนเสาร์
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่อง “ไดโนเสาร์ขาโก่ง” โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนออกแบบตอนจบใหม่และวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้ “นักเรียนจำดำรงอยู่ภายใต้ความแตกต่างอย่างไร”
ภาระงาน
- อ่านหนังสือวรรณกรรมนานาชาติ ตอน ไดโนเสาร์ขาโก่ง
- วิเคราะห์สรุปเรื่องที่อ่าน และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ชิ้นงาน
 ออกแบบตอนจบใหม่และวาดภาพประกอบ
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 ตีความหมาย

คำถาม :
นักเรียนคิดว่าประโยคแต่ละประโยคสื่อความหมายอย่างไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ประโยคที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอประโยคที่ชอบ
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความคิดเห็น และวิเคราะห์ประโยคข้อความที่ตนเองเลือก
บรรยากาศ/สื่อ :
-   ห้องเรียน
-   วรรณกรรม ตอน“ไดโนเสาร์ขาโก่ง”
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนสังเกตประโยคจากในวรรณกรรม ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ในประโยคประกอบด้วยอะไรบ้างนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เชื่อม:
-   ครูให้นักเรียนเลือกประโยคที่ตนเองชอบจากวรรณกรรม ตอน“ไดโนเสาร์ขาโก่ง” แล้วเขียนลงในสมุดคนละ ๑ ประโยคและนำเสนอประโยคข้อความที่ชอบโดยบอกว่าประโยคว่าประกอบด้วยอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไร
-   นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ประโยคข้อความที่ตนเองเลือกไว้ ว่าเป็นอย่างไร
ใช้:
นักเรียนนำประโยคที่ตนเองชอบมาแต่งเรื่องใหม่ตามความสนใจ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งร่วมเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องคำเชื่อมประโยคเพิ่มเติม
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ประโยคข้อความที่ตนเองเลือกไว้
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งเรื่องและวาดภาพประกอบอย่างสร้างสรรค์
ความรู้
 - คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- ประโยคที่เป็นประโยคความเดียว

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยคและเรื่อง
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่อง เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 
   
Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
 อักษรกลาง

คำถาม :
ถ้าจะแบ่งพยัญชนะออกเป็นหมู่ นักเรียนจะแบ่งเป็นอย่างไร เพราะอะไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share   คำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
บรรยากาศ/สื่อ :
-   ห้องเรียน
-    แท็ปเล็ต
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย
ขั้นสอน
ชง :
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด พยัญชนะไทยมีทั้งหมดกี่ตัว และถ้าต้องจัดหมวดหมู่ นักเรียนจะแบ่งพยัญชนะไทยได้อย่างไรบ้าง เพราะอะไร
-   นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะไทย และให้เหตุผลประกอบ 
เชื่อม :
-   นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 3 คน และออกค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอักษรสามหมู่ จากแหล่งจากอินเทอร์เน็ต (แท็ปเล็ต)
-   นักเรียนนำเสนอชาร์ตความรู้อักษรสามหมู่ 
ใช้ :
นักเรียนนำอักษรกลางมาแต่งประโยคให้น่าสนใจ พร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป   
-    นักเรียนนำเสนอการแต่งประโยคจากอักษรกลาง
-    ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะไทย
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งประโยคจากอักษรกลาง พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
การจัดหมวดหมู่พยัญชนะไทย อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
 คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
   
Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
การผันอักษรกลาง

คำถาม :
นักเรียนจะผันวรรณยุกต์อักษรกลางได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
นิทานเรื่อง ไดเสาร์ขาโก่ง
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมทบทวนเกี่ยวกับอักษรสามหมู่
อักษรสูง  อักษรกลาง  อักษรต่ำ
ขั้นสอน
ชง :
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ จากหนังสือนิทานเรื่องไดเสาร์ขาโก่งที่อ่านนักเรียนเห็นคำใดบ้างที่เป็นอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
เชื่อม :
นักเรียนค้นหาอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ จากนิทานเรื่องไดเสาร์ขาโก่ง
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานการผันอักษรกลาง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
-เขียนนิทานช่อง
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้อักษรสามหมู่
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
ใบงานการผันอักษรกลาง
ความรู้
อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค
- เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
   
Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
สรุปการเรียนรู้

คำถาม :
ถ้าจะแบ่งพยัญชนะออกเป็นหมู่ นักเรียนจะแบ่งเป็นอย่างไร เพราะอะไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share  คำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
 - Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการผันอักษรกลาง
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์
ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีข้อสงสัย คำถาม ข้อเสนอแนะอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องอักษรกลาง” 
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนข้อสงสัย คำถาม เกี่ยวกับเรื่องอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปความรู้เกี่ยวกับอักษรกลาง และการผันวรรณยุกต์ตามความสนใจ
ขั้นสรุป
Show & Share นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเอง
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะไทย
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำที่มีอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ความรู้
นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียง เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและจัดหมวดหมู่อักษรสามหมู่ ผันวรรณยุกต์อักษรกลาง มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด   นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้ อักษรกลางและการผันวรรณยุกต์
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




กิจกรรม   




ชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ อ่านวรรณกรรมนานาชาติตอน ไดโนเสาร์ขาโก่ง โดยครูตั้งคำถาม “ถ้าพี่ๆ เจอคนพิการพี่ๆ รู้สึกอย่างไรบ้าง”
    พี่น้ำตาล “สงสารค่ะ หนูเจอที่ตลาด” เพื่อนคนอื่นๆ ตอนเช่นกัน จากนั้นๆ พี่ๆ คาดเดาเรื่องก่อนอ่าน พี่ๆ บอกว่าไดโนเสาร์ต้องขาโค้งๆ จากนั้นพี่ๆ อ่านวรรณกรรม และแต่งตอนจบใหม่
    วันอังคารครูให้พี่ๆ หาหนึ่งประโยคที่ชอบในเรื่อง โดยให้บอกสิ่งที่เห็นในประโยค และความหมายของประโยคนั้น พี่ๆ บอกว่า สระบ้าง ตัวสะกดบ้าง
    อัก ษรนำ บ้างก็คำควบกล้ำ พี่ๆ ทุกคนได้อธิบายประโยคของตนเอง
    วันพุธครูเริ่มด้วยคำถาม พยัญชนะไทยมีทั้งหมอกี่ตัว พี่ๆ ตอบได้ว่ามี ๔๔ ตัว จากนั้นครูให้นักเรียนลองจัดหมวดหมู่ตามความคิดของตน บางคนบอกว่าตามตัวสะกดไม่ตรงมาตรา บางคนบอกว่าอักษรนำ จากนั้นครูถามต่อว่า ถ้าจะแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม นักเรียนคิดว่าเราจะแบ่งได้อย่างไร พี่เจมส์ “อักษรสามหมู่ครับ” ครูจึงตั้งคำถามต่อ อักษรสามหมู่เป็นอย่างไร พี่ๆ คนที่รู้แล้วอธิบายให้คนอื่นรู้แล้วอธิบายให้คนอื่นฟัง จากนั้นครูให้พี่ๆ แต่งประโยคจากอักษรกลาง เช่น ต้นกล้าเจอเต่าบนปากโอ่ง
    วันต่อมาครูและนักเรียนนำอักษรกลางมาผันวรรณยุกต์ และวันศุกร์พี่ๆ ทบทวนความรู้และสรุปความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม ตอนไดโนเสาร์ขาโกงและอักษรกลาง

    ตอบลบ