เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week2

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                             ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๑๘ – ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘                                                                        เวลาเรียน ๕ คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     นิทานพระราชากับนายทึ่ม 


สาระสำคัญ :                          คนเราทุกคนมีความสามารถหรือความรู้ที่ต่างกัน เราไม่ควรจะดูถูกผู้อื่น เพราะบางครั้งคนที่เราคนว่าโง่ อาจจะมีความรู้ในบางเรื่องมากกว่าเรา

Big Question :                           นักเรียนจะทำอย่างไร เมื่อต้องเจอคนที่มีความรู้น้อยกว่าหรือมากว่าเรา เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น



เป้าหมายย่อย :                      นักเรียนสามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล บอกเล่า อธิบายให้คนอื่นฟังได้ อ่านคำและเรื่องราวได้ จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ มีนิสัยรักการอ่าน สามารถอ่านและเขียนคาดเดาเรื่องจากชื่อเรื่อง มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
 พระราชากับนายทึ่ม

คำถาม :
นักเรียนจะทำอย่างไร เมื่อต้องเจอคนที่มีความรู้น้อยกว่าหรือมากว่าเรา
เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอตอนจบใหม่
- Wall Thinking  ชิ้นงานตอนจบใหม่
- พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรม และสรุปตอนที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-
นิทาน พระราชากับนายทึ่ม
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เราเจอเก่งหรือไม่อย่างไร
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านนิทาน “พระราชากับนายทึ่ม” โดยอ่านออกเสียงหลายคน และอ่านคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งตอนจบใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบเรื่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งตอนจบใหม่
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (แต่งตอนจบใหม่)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 การใช้คำนาม คำสรรพนาม

คำถาม :
นักเรียนจะใช้คำนามและคำสรรพนามได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (คำนาม คำสรรพนาม)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากคำสรรพนาม และคำนาม
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยค
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวละครจากเรื่องที่อ่านและการใช้คำสรรพนามแทนสิ่งเหล่านั้น
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง พระราชากับนายทึ่ม
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่อ่านนักเรียนเห็นตัวละคร  สถานที่ใดบ้าง” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะจัดหมวดหมู่อย่างไร” นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของคำศัพท์บนกระดานตามความเข้าใจ
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้เป็นคำชนิดใด”
เชื่อม:
-   ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับชนิดของคำ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะใช้คำสรรพนามแทนสิ่งเหล่านี้ว่าอย่างไรบ้าง”
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำสรรพนามต่างๆ
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ไปใช้ในการแต่งประโยค โดยใช้คำสรรพนามในการแต่ง ๑๐-๑๕ ประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับคำนามและคำสรรพนาม รวมทั้งสิ่งที่ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการตัวละครจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับคำสรรพนาม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งประโยค (คำสรรพนามและคำนาม)
ความรู้
ชนิดของคำ เช่น คำนามคำสรรพนาม และคำกริยา สามารถนำคำเหล่านี้มาแต่งเป็นประโยคและปรับใช้ได้ใสชีวิตประจำวัน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome








พุธ
โจทย์
ชนิดของคำ (คำกริยา)

คำถาม :
นักเรียนจะแยกประเภทของคำได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคคำนาม คำกริยา คำสรรพนาม
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีคำนาม คำสรรพนามคำกริยา
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อม
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำต่างๆ
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่
ขั้นสอน
ชง:
ครูพานักเรียนเล่นเกมต่อบัตรคำครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้อะไรจากเกมที่เล่น และเห็นอะไรเหมือนและแตกต่างกันจากบัตรคำ
-  นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนหรือต่างกันของคำต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คำกริยา คำนาม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง พร้อมกับให้นักเรียนยกตัวอย่างประกอบ
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละคนช่วยกันจำแนกประเภทคำ
ใช้:
นักเรียนจำแนกชนิดของคำแล้วนำมาแต่งนิทาน
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 
ภาระงาน
แต่งนิทานจากคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมจำแนกจากชนิดของคำ เช่นคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งนิทานจากคำ (คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา)
ความรู้
 การจำแนกชนิดของคำ (คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา)

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ 
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome








พฤหัสบดี
โจทย์
คำสันธาน

คำถาม :
นักเรียนจะนำคำสันธานมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำสันธานที่พบในชีวิตประจำวัน
- Show and Share การแต่งประโยคจากคำสันธานต่างๆ
- Wall Thinking ผลงานการแต่งเรื่องจากคำศัพท์
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำสันธาน
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
 ขั้นนำ
ครูทบทวนสิ่งที่นักเรียนได้เรียนในวันพุธที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูเขียนคำบนกระดาน และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำคำต่างๆ มาแต่งเป็นประโยคได้อย่างไรบ้าง”
 เชื่อม:
นักเรียนแบ่งกลุ่ม นำคำศัพท์ที่ครูให้มาแต่งเป็นประโยคตามความคิดของแต่ละกลุ่ม
ใช้:
นักเรียนนำประโยคได้แต่งมาแต่งเป็นนิทานตามจินตนาการ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 
ภาระงาน
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประโยค
แต่งนิทานจากประโยค
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งนิทานจากประโยคสร้างสรรค์
ความรู้
จำแนกชนิดของคำ(คำสันธาน)
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ 
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ

คำถาม :
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างและจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- Wall Thinking สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-    นิทานพระราชากับนายทึ่ม
ขั้นนำ  
นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
-   นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการอ่านเรื่อง พระราชากับนายทึ่ม
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปปรับใช้อย่างไรบ้าง
เชื่อม :
นักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ :
นักเรียนเขียนบรรยายสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ตามความสนใจ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์ และร่วมสนทนาสรุปอีกครั้ง
ภาระงาน
-   พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
-   นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายชนิดของคำ (คำกริยา คำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำอุทาน คำบุพบท คำสันทาน) และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
สามารถจำแนกชนิดของคำได้
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้ชนิดของคำ
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน 
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


กิจกรรม







  ชิ้นงาน
















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.3 การเรียนการสอนไม่ได้เป็นตามแผน เพราะสัปดาห์ที่แล้วพี่ๆ ยังไม่ได้เขียนความรู้ก่อนเรียนของตนเอง วันจันทร์และวันอังคารจึงทบทวน
    และสรุปความรู้ก่อนเรียนของตนเอง
    วันพุธพี่ๆ อ่านนิทานเรื่องพระราชากับนายทึ่ม ซึ่งครูตั้งคำถามกับพี่ๆ ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเก่งไม่เก่ง สังเกตจากอะไรบ้าง พี่ๆช่วยกันเสนอความคิดเห็น บางคนบอกว่า ดูจากที่เค้าตอบคำถามได้บ้าง ดูจากอ่านหนังสือคล่องบ้าง จากนั้นนักเรียนอ่านนิทาน “พระราชากับนานทึ่ม” ครูให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน อ่านหญิง/ชาย เนื้อหาของเรื่องนี้ค่อนข้างยาว ครูจึงให้พี่ๆ อ่านครึ่งเรื่อง และให้นักเรียนได้คาดเดาเหตูการณ์ตอนต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนมากพี่ๆ จะบอกว่า นายทึ่มจะหลอกพระราชาได้ และจะได้ลูกสาวของพระราชามาเป็นภรรยา ครูมอบหมายการบ้านให้พี่อ่านนิทานจนจบและมาสรุปเรื่องย่อในสมุด
    วันพฤหัสบดี ครูและพี่ๆ ทบทวนการบ้านที่ได้รับมอบหมาย หลังจากนั้นครูนำคำศัพท์หลายๆ คำให้นักเรียนสังเกต เห็นอะไรจากคำต่างๆ บ้าง
    พี่เจมส์ “คำกริยา คำนาม คำสรรพนาม ครับ”
    พี่ฟีฟ่า “คำกริยา ค่ะ” พี่ๆ หลายคนตอบตรงกัน ครูจึงตั้งคำถามว่า แล้วคำต่างๆ ที่พี่ๆ ตอบมา คำเหล่านั้นคือคำอะไร ทำไมถึงบอกว่าเป็นคำดังกล่าว ซึ่งจากการตอบคำถามของพี่ๆ ทำให้คุณครูรู้ว่า พี่ๆ เข้าใจคำเหล่านี้แล้ว
    วันศุกร์ ครูทบทวนความรู้จากเมื่อวานและเขียนคำบนกระดานเพิ่มเติม พี่ๆ มองคำศัพท์แล้วสามารถบอกได้ว่า คำที่คุณครูเขียนบนกระดานต้องการสื่ออะไรบ้าง เช่น และ แล้ว เพราะ เป็นต้น นอกว่านี้ ครูเขียน คำเพิ่มอีก แล้ว...ก็ เพราะ...จึง ฯลฯ นักเรียนลองแต่งประโยคจากคำเหล่านี้ เช่น
    พี่ฟีฟ่า “ เพราะหนูไม่กินข้าวจึงหิวข้าว” เมื่อทุกคนเข้าใจแล้วคุณครูแจกกระดาษให้พี่ๆ แต่งประโยคและวาดภาพประกอบ

    ตอบลบ