เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week9

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่   – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘                                                                                    เวลาเรียน ๕ คาบ  (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     ขลุ่ยทอง

สาระสำคัญ :                         คนที่ประพฤติดีและมีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ย่อมมีคนเห็นและให้ความช่วยเหลือเสมอ

Big Question :                           นักเรียนจะทำอย่างไร เมื่อต้องเจอกับเรื่องที่ไม่คาดฝัน


       เป้าหมายย่อย :                      นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียง เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและจัดหมวดหมู่อักษรสามหมู่ ผันวรรณยุกต์อักษรสูง มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด   นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
ขลุ่ยทอง

คำถาม :
เมื่อเราทำอย่างไรให้ตนเองอยู่อย่างมีความสุข?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอสรุปเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking  ชิ้นงานสรุปเรื่องย่อ
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรม และสรุปตอนที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานนานาชาติ ตอน“ขลุ่ยทอง”
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องดนตรีที่ชอบ
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านนิทาน “ขลุ่ยทอง” โดยอ่านออกเสียงหลายคน และอ่านคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบเรื่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

 
ชิ้นงาน
สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 คำศัพท์ใหม่

คำถาม :
นักเรียนสื่อความหมายของคำศัพท์อย่างไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่จากการอ่านวรรณกรรม
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์
บรรยากาศ/สื่อ :
-   ห้องเรียน
-   นิทานนานาชาติ ตอน“ขลุ่ยทอง”
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนสังเกตคำศัพท์ใหม่จากวรรณกรรม ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-           คำศัพท์แต่ละคำอ่านว่าอย่างไรบ้าง?” นักเรียนอ่านคำศัพท์พร้อมกัน
-          “คำศัพท์แต่ละคำมีความหมายอย่างไรบ้าง?”
-          “นักเรียนจะนำคำศัพท์เล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร?“      
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ใหม่อธิบายความหมายและวาดภาพประกอบ ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ตัวละคร
-    แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง
-    นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนความหมายของคำศัพท์และวาดภาพประกอบอย่างสร้างสรรค์
ความรู้
 คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยคและนิทาน
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่อง เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์

คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 
  




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
 อักษรสูง

คำถาม :
นักเรียนจะนำอักษรสูงไปใช้อย่างไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share   คำที่มีอักษรสูง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำที่มีอักษรสูง
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย
ขั้นสอน
ชง :
-   ครูให้นักเรียนสังเกตพยัญชนะไทย ผ. ฝ. ถ. ฐ. ข. ฃ. ศ. ษ. ส. ห. ฉ. พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “พยัญชนะทั้งหมดนี้ถ้าจัดหมวดหมู่ ได้อย่างไรบ้าง
-   นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะ และให้เหตุผลประกอบ 
เชื่อม :
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจดจำอักษรสูงให้ครบทุกตัว
ใช้ :
นักเรียนแต่งประโยคสร้างสรรค์อักษรสูงพร้อมนำเสนอให้เพื่อนพร้อมนำเสนอให้เพื่อนฟัง ครูและเพื่อนๆ ช่วยกันแสดงความคิดเห็น
ขั้นสรุป   
-    นักเรียนนำเสนอการแต่งประโยคจากอักษรสูง
-    ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะอักษรสูง
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำที่มีอักษรสูง
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งจากประโยคจากอักษรสูง พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
การจัดหมวดหมู่พยัญชนะไทย อักษรสูง

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
 คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




  
Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พฤหัสบดี
โจทย์
การผันอักษรสูง

คำถาม :
นักเรียนจะผันวรรณยุกต์อักษรสูงได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำที่มีอักษรสูง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีอักษรสูง
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำที่มีอักษรสูง
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมทบทวนเกี่ยวกับอักษรสูง
ขั้นสอน
ชง :
-   ครูนำบัตรคำการผันอักษรสูง ให้นักเรียนผันวรรณยุกต์
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด แต่ละคำอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ใดบ้าง คูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม :
นักเรียนค้นหาการผันวรรณยุกต์ อักษรสูง และนำเสนอ ครูและเพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานการผันอักษรสูง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
-เขียนนิทานช่อง
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้อักษรสามหมู่
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
ใบงานการผันอักษรสูง
ความรู้
อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค

คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ศุกร์
โจทย์
สรุปการเรียนรู้

คำถาม :
นักเรียนจะสรุปการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับอักษรสูง และเรื่องที่ได้อ่าน
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอักษรสูงและเรื่องที่ได้อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์
ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีข้อสงสัย คำถาม ข้อเสนอแนะอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องอักษรสูง” 
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนข้อสงสัย คำถาม เกี่ยวกับเรื่องอักษรสูง
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปความรู้เกี่ยวกับอักษรสูง และการผันวรรณยุกต์ตามความสนใจ
ขั้นสรุป
Show & Share นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเอง
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พยัญชนะตามอักษรสูง
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำที่มีอักษรสูง
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ความรู้
นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียง เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและจัดหมวดหมู่อักษรสามหมู่ ผันวรรณยุกต์อักษรสูง มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด   นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้ อักษรกลางและการผันวรรณยุกต์
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
-  เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น






ชิ้นงาน

















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ อ่านวรรณกรรมตอนขลุ่ยทอง ครูตั้งคำถามก่อนการเรียนรู้พี่ๆ ชอบเครื่องดนตรีอะไรบ้าง ทุกคนมีเครื่องดนตรีที่ชอบ เช่น กลอง เบส ฯลฯ จากนั้นครูให้พี่อ่านอ่าน วรรณกรรม และเมื่ออ่านจบ ทุกคนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่อง และครูตั้งคำถามว่า พี่ๆ คิดว่าตัวละครแต่ละตัวมีนิสัยอย่างไร พี่วาหวา “พี่ๆ มีนิสัยขี้โกงค่ะ พี่ฟีฟ่า “น้องคนเล็กเป็นคนดีค่ะ”
    วันนี้พี่ๆ ไม่ได้ทำชิ้นงาน แต่ได้พูดคุยกันระหว่างเรียน
    วันอังคารครูเขียนคำศัพท์ใหม่บนกระดาน และพี่ๆ ช่วยกันอ่าน จากนั้นครูและพี่ๆ ช่วยกันสะกดและอธิบายความหมายหลายคำ พี่บิว “ครูครับผมไม่เข้าใจความหมายสมประสงค์” ครูจึงถามคนอื่นๆ ใครเข้าใจบ้างให้ช่วยอธิบายฟัง จากนั้นพี่ๆ เลือกคำศัพท์ ๑๐ คำที่ตนเองยังไม่เข้าใจความหมายเขียนความหมายและวาดภาพประกอบ
    วันพุธและวันพฤหัสบดี พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอักษรสูง และการผันอักษร พี่ๆ ได้แต่งประโยคจากอักษรสูง เช่น ผีฝากถังข้าวสารสีให้ฉัน ฉันฝากถุงข้าวสารสีให้ฉัน ฉันฝันเห็นผีถือข้าวสวยและผึ้งฝันถึงฉันให้ข้าวสาร และได้ลองผันวรรณยุกต์ของอักษรสูง
    วันศุกร์ครูและพี่ๆ ช่วยกันทบทวนความรู้ที่ได้ในสัปดาห์นี้ อักษรสูง การผันวรรณยุกต์ของอักษรสูง และวรรณกรรม ตอนขลุ่ยทอง จากนั้นครูให้พี่ๆ สรุปความรู้ของตนเองตามความสนใจ

    ตอบลบ