เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week7

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๒๒ – ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘                                                                                    เวลาเรียน ๕ คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     โรคเบื่อตัวเอง


สาระสำคัญ :                         เราควรพอใจในสิ่งที่เราเป็น และสิ่งที่เรามี หมั่นพัฒนาตนเองโดยไม่เปรียบเทียบหรืออยากเป็นเหมือนคนอื่น


Big Question :                           เราจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างไร



เป้าหมายย่อย :                      นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยคำควบกล้ำ (ควบแท้ ควบไม่แท้) สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและเขียนสรุปย่อ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
โรคเบื่อตัวเอง

คำถาม :
เมื่อเราทำอย่างไรให้ตนเองอยู่อย่างมีความสุข?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอสรุปเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking  ชิ้นงานสรุปเรื่องย่อ
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรม และสรุปตอนที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทาน “โรคเบื่อตัวเอง”
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนทำอะไรแล้วมีความสุขที่สุด
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านนิทาน “โรคเบื่อตัวเอง” โดยอ่านออกเสียงหลายคน และอ่านคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบเรื่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

 
ชิ้นงาน
สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome











อังคาร
โจทย์
 การใช้คำกล้ำ

 คำถาม :
นักเรียนจะอ่าน และใช้คำควบกล้ำอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน และคำควบกล้ำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำควบกล้ำ (จะอ่านและนำไปใช้อย่างไร)
- Show and Share การแต่งประโยคจากคำควบกล้ำ
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน และการใช้คำควบกล้ำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำควบกล้ำ
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน นักเรียนช่วยกันทบทวน สรุปเรื่องอีกครั้ง
ขั้นสอน
ชง:
- ครูติดบัตรคำศัพท์ คำควบกล้ำ และคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันบนกระดาน นักเรียนอ่านคำที่ติดบนกระดานพร้อมๆ กัน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจากบัตรคำ
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน แต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำความหมายศัพท์คำควบกล้ำจากเรื่องที่อ่านและจากหนังสือเรื่องอื่นๆ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำศัพท์และความหมายของคำที่ได้จากเรื่องที่อ่าน (คำควบกล้ำ)
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์คำควบกล้ำ ๑๐ คำ แต่งประโยค
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานการแต่งประโยคของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- อ่านคำควบกล้ำและสนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายและคำที่ออกเสียงเหมือนกัน
- แบ่งกลุ่ม หาความหมายของคำศัพท์
- นำเสนอคำศัพท์ที่ได้จากการอ่านนิทาน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งประโยคคำควบกล้ำสร้างสรรค์

ความรู้
คำควบกล้ำที่ได้จากการอ่าน การแต่งประโยคจากคำควบกล้ำ

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแต่งประโยค
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความหมายของคำศัพท์
- เขียนแต่งนิทานและการวาดภาพ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









พุธ
โจทย์ :
คำควบกล้ำแท้

คำถาม :
นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าคำใดเป็นคำควบกล้ำแท้ไม่แท้?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำควบกล้ำที่ได้จากนิทาน
- Brainstorm ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับประเภทของคำควบกล้ำ
-Key Question คำถามกระตุ้นความคิดเกี่ยวกับประเภทคำควบกล้ำที่รู้จัก
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำ ความหมายและการนำไปใช้
- Show and Share คำควบกล้ำที่รู้จัก และความหมายของคำ
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย
ขั้นสอน
ชง:
-   ครูติดบัตรภาพ ให้นักเรียนสังเกต ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจากภาพ จะตั้งชื่อว่าอย่างไรบ้างใครมีคำตอบอื่นต่างจากเพื่อน
-    ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากคำควบกล้ำนักเรียนจะอ่านออกเสียงอย่างไร และนำใช้อย่างไรบ้าง
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการตั้งชื่อภาพต่างๆ พร้อมบอกเหตุผล
ใช้:
นักเรียนแต่งนิทานจากคำควบกล้ำแท้ที่รู้จักอย่างน้อยคนละ ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- เขียนคำควบกล้ำแท้
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับการออกเสียงคำควบกล้ำ
- แต่งนิทานจากคำควบกล้ำแท้พร้อมวาดภาพ
ประกอบ

ชิ้นงาน
แต่งประโยคจากคำควบกล้ำในสมุด

ความรู้
คำควบกล้ำที่ได้จากการอ่าน การแต่งนิทานจากคำควบกล้ำ

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยคตามจินตนาการจากคำศัพท์ที่เป็นคำควบกล้ำ
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องจากคำควบกล้ำเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
รักการเรียนรู้ และกระตือรือร้นในการทำงาน
- เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ฤหัสบดี
โจทย์
 คำควบกล้ำ

คำถาม:
นักเรียนจะแต่งนำควบกล้ำไม่แท้มาแต่งนิทานได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำควบกล้ำไม่แท้
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดความคิดเกี่ยวกับการแยกประเภทคำควบกล้ำที่รู้จัก
- Wall Thinking ผลงานนิทานคำควบกล้ำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพคำควบกล้ำไม่แท้
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ทำในวันพุธ
ขั้นสอน
ชง:
- ครูเขียนคำควบกล้ำไม่แท้บนกระดานและบัตรภาพให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนคำที่เป็นตัวควบกล้ำไม่แท้ การอ่านออกเสียง ความหมาย และการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนแต่งนิทานช่องคำควบกล้ำไม่แท้ที่รู้จักอย่างน้อยคนละ ๑๐ คำ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- แต่งนิทานคำควบกล้ำไม่แท้
นำเสนอนิทานคำควบกล้ำไม่แท้

ชิ้นงาน
นิทานคำควบกล้ำไม่แท้
ความรู้
- ประโยคต่าง ๆ จากคำควบกล้ำ
- การเขียนแต่งประโยค และแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องตามจินตนาการจากประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
รักการเรียนรู้ และกระตือรือร้นในการทำงาน
-เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์
- รับฟังกล้าแสดงความคิดเห็น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ศุกร์
โจทย์ :
 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ผู้อื่นเข้าใจ

คำถาม :
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำและเรื่องที่เรียนรู้สัปดาห์นี้อย่างไรให้ผู้อื่นเข้าใจ?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนรู้
- Round Robin  เกี่ยวกับการอ่าน การเขียน รวมทั้งการนำคำควบกล้ำไปใช้อย่างเหมาะสม
- Show and Share ผลงานสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง “โรคเบื่อตัวเอง”
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนักเดินทางขี้คุย จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน รวมทั้งการนำคำควบกล้ำไปใช้อย่างเหมาะสม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ คำควบกล้ำ
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็นนิทานช่องคำควบกล้ำ
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการใช้คำ คำควบกล้ำเพื่อสื่อความหมาย
 - วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายคำควบกล้ำและการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้เป็นนิทานช่องคำควบกล้ำ (ควบแท้และไม่แท้)
ความรู้
นักเรียนสามารถเขียนและอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยคำควบกล้ำ(ควบแท้ ควบไม่แท้) สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง รวมทั้งตั้งคำถามและตอบคำถามแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม  สามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและเขียนสรุปย่อ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  นำข้อคิดที่ได้จากการฟังนิทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำไปปรับใช้กับตนเอง
- สรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- นักสร้างสรรค์ นักออกแบบกิจกรรม




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.๓ อ่านนิทานโรคเบื่อตัวเอง ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดก่อนอ่านนิทาน นักเรียนภูมิใจอะไรในตัวเองบ้าง พี่ๆตอบว่า อ่านหนังสือเก่งบ้าง ทำงานเสร็จบ้าง จากนั้นพี่ๆ อ่านนิทานโรคเบื่อตัวเองถึงครึ่งเรื่อง ครูและนักเรียนสรุปเรื่องที่เกิดขึ้น จากนั้นพี่ๆ คาดเดาเรื่องราวต่อว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากสัตว์ทุกตัวอยากเป็นตัวอื่น พี่วาหวา บอกว่าสัตว์ทุกตัวจะอยากกลับมาเป็นตัวเอง ส่วนบางคนบอกพ่อมดจากป่าจะให้สัตว์ทุกตัวเป็นตัวที่อยากเป็น
    วันอังคารพี่ๆทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้นและอ่านต่อจากนั้นทุกคนช่วยกันแผนภาพโครงเรื่อง
    วันพุธครูนำบัตรคำควบกล้ำ อักษรนำ และคำนาม ให้พี่ๆ อ่านและนำบัตรคำที่ได้คนละใบจัดหมวดหมู่ร่วมกัน จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า พี่ๆ จัดหมวดหมู่อย่างไร บางคนบอกว่า คำนาม คำควบกล้ำ คำที่มี ห นำ จากนั้นพี่ๆ นำคำศัพท์ทุกคำจำประเภทตามแบบของตนเองมา 3 ประเภท
    วันพฤหัสบดี ครูเล่านิทานที่มีคำควบกล้ำไม่แท้ และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากนิทานที่เล่าพี่ๆ สังเกตเห็นคำควบกล้ำคำใดบ้าง พี่ๆ ช่วยกันตอบ เช่น ทราย ทราบ ทรุดโทรม ตรง พร้อม ครอบครัว เศร้า สร้าง ฯลฯ จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจะจัดหมวดหมู่คำควบกล้ำเหล่านี้อย่างไรบ้าง พี่ต้นกล้า “คำควบกล้ำแท้และไม่แท้ครับ” เพื่อนคนอื่นๆ ช่วยกันตอบคล้ายๆ กัน จากนั้นครูให้พี่ๆ หาคำศัพท์เพิ่มเติมและนำมาแต่งประโยค
    วันศุกร์ครูและนักเรียนทบทวนคำควบกล้ำแท้และไม่แท้ รวมทั้งนิทานที่ได้เรียนรู้มา และสรุปความรู้เป็นนิทานช่องหรือการ์ตูนช่อง

    ตอบลบ