เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week4

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่  ๑-๕ มิถุนายน ๒๕๕๘                                                                                              เวลาเรียน ๕ คาบ  (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     นกฉลาด

สาระสำคัญ :                         ผู้ที่ใช้สติปัญญาก่อนที่จะพูดหรือกระทำสิ่งใดอย่างรอบคอบนั้น จะสามารถแก้ไขปัญหาและเอาตัวรอดจากอันตรายได้

Big Question :                           จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งใดบ้าง ถ้าเราทำก่อนคิด




เป้าหมายย่อย :                                นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนมาตรตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้



Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
จันทร์
โจทย์
 นกฉลาด

คำถาม :
นักเรียนจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง นกฉลาด

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมในวันหยุดให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่อง “นกฉลาด” โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
  นักเรียนแต่งตอนจบใหม่เรื่องนกฉลาดตามจินตนาการ
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งตอนจบใหม่เรื่องนกฉลาดตามจินตนาการ

ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
-วัฒนธรรมการกินที่แตกต่างหลากหลาย
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 การใช้มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา

คำถาม :
นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานแต่งเรื่องใหม่จากคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง นิทาน นกฉลาด
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูติดบัตรคำศัพท์มาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราจากเรื่อง นกฉลาดบนกระดาน
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบนกระดาน” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  “นักเรียนจะจัดหมวดหมู่อย่างไร” นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของคำศัพท์บนกระดานตามความเข้าใจ
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์จากมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราบนกระดาน ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเห็นความแตกต่างและความเหมือนของคำศัพท์เหล่านี้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ไปใช้ในการแต่งเรื่องตามจินตนาการ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา และสิ่งที่ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในมาตราตัวสะกด
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องใหม่จากคำศัพท์ในเรื่องที่อ่าน
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตราและการนำไปใช้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
พุธ
โจทย์
การใช้มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา

คำถาม:
นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด
- Show and Share คำศัพท์ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
-   ครูให้นักเรียนสังเกตพยัญชนะในมาตราตัวสะกดต่างๆ
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแยกพยัญชนะต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง”
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน แต่ละกลุ่มช่วยกันจัดกลุ่มพยัญชนะต่างๆ
- นักเรียนนำเสนอการแยกพยัญชนะตามมาตราตัวสะกด
ใช้:
นักเรียนทำใบงานเขียนคำศัพท์แต่ละมาตรา
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอชิ้นงานภาพประกอบคำศัพท์ให้ครูและเพื่อนฟัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการแต่งประโยคและวาดภาพสื่อความหมาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
ใบงานเขียนคำศัพท์แต่ละมาตรา
ความรู้
แยกพยัญชนะตามมาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา รวมทั้งการนำคำศัพท์มาแต่งประโยค
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ฤหัสบดี
โจทย์
การใช้มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา

คำถาม :
นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบคำศัพท์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-    รูปภาพ
ขั้นนำ
ครูเล่านิทานยีราฟให้นักเรียนมีฟัง
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่ได้ฟังมีคำไหนบ้างทีสะกดไม่ตรงมาตรา และอยู่ในมาตราตัวสะกดแม่ใด
เชื่อม:
ครูวาดภาพให้นักเรียนทายคำศัพท์จากภาพ เช่น รูปเหรียญ พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ภาพนี้สื่อความหมายอะไรกับเราได้บ้าง อยู่ในมาตราตัวสะกดใด”นักเรียนช่วยกันหาคำศัพท์จากมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์มาแต่งนิทานสร้างสรรค์
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอชิ้นงานภาพประกอบคำศัพท์ให้ครูและเพื่อนฟัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด ความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการวาดภาพสื่อความหมาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งนิทานจากคำศัพท์สร้างสรรค์
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบนิทานหรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
ศุกร์
โจทย์
 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ผู้อื่นเข้าใจ

คำถาม :
นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบคำศัพท์
- สรุปองค์ความรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทานเรื่อง นิทาน นกฉลาด
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากมาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา รวมทั้งนิทานนกฉลาด จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้จากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปการเรียนรู้จากนิทานเรื่อง นกฉลาดและมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา

ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนมาตรตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน และแผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- สรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ

กิจกรรม 













 ชิ้นงาน















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนในวันจันทร์ เนื่องจากเป็นวันมาฆบูชา และในวันอังคารครูให้พี่ๆ ป.3อ่านนิทานเรื่องนกฉลาด ซึ่งคุณครูตั้งคำถามก่อนอ่านนิทาน สัตว์ชนิดไหนที่นักเรียนคิดว่าฉลาดที่สุด พี่ๆ บอกว่า สุนัขบ้าง แมว ไก่บ้าง จากนั้นทุกคนอ่านนิทานนกฉลาด และสรุปเรื่องที่เกิดขึ้น จากนั้นคุณครูให้นักเรียนสรุปเรื่องย่อ ซึ่งไม่ได้ทำตามแผนเพราะพี่ๆ ยังสรุปย่อเรื่องไม่ค่อยได้ ครูจึงให้แต่ละคนสรุปเรื่องย่อ วันต่อมานักเรียนได้แบ่งกลุ่มหาพยัญชนะ ที่อ่านออกเสียงในมาตราตัวสะกดแม่กด แม่กน แม่กก แม่กบ และทำใบงานหาคำศัพท์ของแต่ละคน วันต่อมาครูอ่านนิทานเรื่องยีราฟให้นักเรียนฟังและให้หาคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จากนั้นทายคำศัพท์นักเรียนจากการวาดภาพ คิดว่าเป็นคำว่าอะไรที่สะกดไม่ตรงมาตรา นักเรียนช่วยกันทายและนำคำศัพท์เหล่านั้นมาแต่งนิทาน วันศุกร์ครูและนักเรียนทบทวนความรู้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นักเรียนสรุปความรู้ของตนเอง

    ตอบลบ