เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week5

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่    Quarter 1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สัปดาห์ที่    วันที่   – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘                                                                                         เวลาเรียน ๕ คาบ  (๑ ชั่วโมง / คาบ
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : นิทานนานาชาติ 
.......................................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ :     มังกรกับก๊าซหัวเราะ

สาระสำคัญ :                         การมองโลกในแง่ดี ทำให้เราอยู่อย่างมีความสุข คนที่อยู่ด้วยก็ย่อมความสุขด้วย

Big Question :                           เราจะทำอย่างไรให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเช่นนั้น



เป้าหมายย่อย :                                นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญ วิเคราะห์เรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์





Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









จันทร์
โจทย์
มังกรกับก๊าซหัวเราะ

คำถาม :
เมื่อเราทำอย่างไรให้ตนเองอยู่อย่างมีความสุข?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
- Show and Share นำเสนอสรุปเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking  ชิ้นงานสรุปเรื่องย่อ
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรม และสรุปตอนที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- นิทาน “มังกรกับก๊าซหัวเราะ”
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนทำอะไรแล้วมีความสุขที่สุด
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านนิทาน “มังกรกับก๊าซหัวเราะ” โดยอ่านออกเสียงหลายคน และอ่านคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบเรื่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

 
ชิ้นงาน
สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง พร้อมวาดภาพประกอบ
ความรู้
- อ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
-   ลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน (สรุปเรื่องย่อ  ข้อคิดจากเรื่อง)
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









อังคาร
โจทย์
 คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

คำถาม:
นักเรียนจะอ่านคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share คำศัพท์คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
- Wall Thinking 
เขียนสรุปความรู้เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ ประวิสรรชนีย์
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูพานักเรียนเล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำ
ขั้นสอน
ชง :
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนได้อะไรจากเกมที่เล่น และเห็นอะไรเหมือนและแตกต่างกันจากบัตรคำ นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม คำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง พร้อมกับให้นักเรียนยกตัวอย่างประกอบ
เชื่อม :
 นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ ๒ คน และค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์คำไม่ประวิสรรชนีย์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและช่วยกันอธิบายสิ่งที่ตนเองค้นคว้า
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปความรู้เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ ประวิสรรชนีย์
ขั้นสรุป   
นักเรียนนำเสนอข้อมูลที่แต่ละกลุ่มค้นคว้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายและตัวอย่างของคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์ได้

ชิ้นงาน
ข้อมูลคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ ประวิสรรชนีย์
ลงในสมุดงาน

ความรู้
 คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค  เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ 
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น




Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome










พุธ
โจทย์
คำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์

คำถาม:
คำประวิสรรชนีย์และคำไมประวิสรรชนีย์แตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทานคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและคำประวิสรรชนีย์และคำไมประวิสรรชนีย์
- Show and Share นำเสนอการแต่งประโยคจากประวิสรรชนีย์และคำไมประวิสรรชนีย์
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์ที่เจอในชีวิตประจำวัน
บรรยากาศ/สื่อ :
ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวันอังคาร
ขั้นสอน
ชง :
-    ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง พร้อมกับให้นักเรียนยกตัวอย่าง ประกอบ
-    ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเจอคำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์ในชีวิตประจำวันที่ไหนบ้างคำว่าอะไรบ้าง”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์ในชีวิตประจำวันที่พบเจอ
ใช้ :
นักเรียนเขียนแต่งประโยคเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ ประวิสรรชนีย์
ขั้นสรุป   
นักเรียนนำเสนอการแต่งประโยค
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์ในชีวิตประจำวันที่พบเจอ
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งประโยคเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ ประวิสรรชนีย์
ความรู้
- คำศัพท์ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน
คำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยคสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome









ฤหัสบดี
โจทย์
 การใช้ และการอ่านคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

คำถาม:
นักเรียนจะใช้ และอ่านคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม (คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ศึกษาค้นคว้า (ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์)
- Show and Share แต่งเรื่องจากคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
- Wall Thinking ผลงานแต่งเรื่องตามจินตนาการ
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ตัวอย่างคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์
- ห้องเรียน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเรียนที่ผ่านมา และอ่านนิทานให้ฟัง นักเรียนฟังนิทานและช่วยกันแลกเปลี่ยนคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์จากเรื่องที่ฟัง
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์ มีลักษณะอย่างไร” นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ๖คน แต่ละกลุ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์และการนำไปใช้
- ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์คำคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์พร้อมทั้งความหมายของคำและการนำไปใช้เพิ่มเติม เมื่อได้คำตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกคำศัพท์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน ๑๐ คำแต่งเรื่องตามจินตนาการ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้ เกี่ยวกับคำควบกล้ำและการนำไปใช้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเรื่อง และการนำคำศัพท์ไปใช้ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์(คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์) และสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งเรื่องตามจินตนาการ
ความรู้
- คำ และการใช้คำประวิสรรชนีย์ และไม่ประวิสรรชนีย์
- การเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการและการวาดภาพประกอบเรื่องที่เขียน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
-  สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-   การเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการและการวาดภาพ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของตนเองและผู้อื่น


Day (วัน)
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome








ศุกร์
โจทย์
 สรุปองค์ความรู้

คำถาม:
นักเรียนจะใช้ และอ่านคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ศึกษาค้นคว้าและการสรุปองค์ความรู้ (คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์)
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
- Show and Share  แผนภาพความคิดคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
บรรยากาศ/สื่อ :
 ห้องเรียน
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องยืมไข่ จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์และข้อคิดที่ได้จากการอ่านนิทาน
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเรื่อง และการนำคำศัพท์ไปใช้ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ (คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์) และสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
Mind Mapping การเรียนรู้จากนิทานเรื่อง ยืมไข่ คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญ วิเคราะห์เรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการแสดงละคร
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำไปปรับใช้กับตนเอง
- สรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- นักสร้างสรรค์ นักออกแบบกิจกรรม


ตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ ป.๓ ได้เรียนรู้หลักภาษาเรื่องคำประวิสรรและไม่ประวิสรรชนีย์ผ่านการอ่านนิทานนานาชาติ เรื่องมังกรกับก๊าซหัวเราะ ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน อ่านคนเดียว พี่ๆ อ่านเรื่องยังไม่จบ ครูให้พี่ๆ ทบทวนเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ามังกรจะเป็นอย่างไรในตอนจบ” พี่วาหวาเขียนมาว่า มังกรคงหัวเราะจนขาดใจตาย เพื่อนคนอื่นๆ บ้างบอกว่า ก้อนหินหล่นทับบ้าง โดนคนฆ่าตอนหัวเราะบ้าง จากนั้นครูให้พี่ๆ อ่านตนจบเองในเวลาว่าง วันต่อมา ครูถามพี่ๆ ว่าตอนจบในนิทานเป็นอย่างไรบ้าง และเข้าสู่การเรียนรู้หลักภาษา โดยครูนำคำศัพท์ที่เป็นคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์มาเขียนบนกระดานให้นักเรียนดู เช่น กระดาษ ตะปู สนุก อร่อย ประโยค ขโมย หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร ในตอนแรกพี่ๆ บอกว่า เป็นคำนามบ้าง คำกริยาบ้าง จากนั้นครูนำคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์มาเทียบกันเป็นคู่ และกระตุ้นด้วยคำถามเห็นอะไรบ้าง พี่น้ำตาลจึงตอบว่า เป็นคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ ครูจึงถามพี่น้ำตาลตอบว่า “ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์คืออะไร” พี่น้ำตาลบอกว่าคือ คำที่เขียนสระ อะ และไม่เขียนสระ อะ จากนั้นเพื่อนคนอื่นๆ ก็เริ่มเข้าใจบ้าง จากนั้นพี่ๆ เขียนคำศัพท์ที่ตนเองรู้จักลงในสมุด วันต่อมาครูนำเพลงมาเปิดให้พี่ ๆ รูนำเพลงมาเปิดให้พี่ ๆ ฟัง และให้หาคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์จากเนื้อเพลง วันต่อมาครูนำคำศัพท์มาเขียนบนกระดาน คละกัน ทั้งประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ และคำที่ผสมกัน เช่น ประทับใจ พจนานุกรม พยัญชนะ จากนั้นครูตั้งคำถามนักเรียนคิดว่า จะนำคำเหล่านี้จัดอยู่ในคำแบบใด ซึ่งพี่ๆ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ จากนั้นพี่ๆ ค้นหาคำศัพท์เพิ่มเติม และวันศุกร์พี่ ๆสรุปการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้เป็น การ์ตูนช่อง/นิทานช่องและนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆรับฟัง

    ตอบลบ